free web counter

       

           พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุนยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริพระชนมายุ 64 พรรษา วัดประจำรัชกาลคือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ครองราชย์
           เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระมงกุฎ วชิรญาณะ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระมงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้
           พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรี และทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น และทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน
           หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายก เข้าเฝ้าฯ และมีพระราชดำรัสว่า
พระราชอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้า
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามกุฎสมมติวงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชลัญจกรประจำพระองค์
           พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มงกุฎ" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ผนวชว่า "วชิรญาณ"
           พระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยังได้ใช้เป็นแม่แบบของพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระราชสมัญญานาม
พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย