free web counter

           เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย กฤษณาเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาและมารดาเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน
           กฤษณา ไกรสินธุ์ จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร หลังจากจบการศึกษาแล้ว กฤษณาได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานในองค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา เธอดำรงตำแหน่งสุดท้ายในองค์การเภสัชกรรมคือผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
           ภายหลังลาออกจากองค์การเภสัชกรรม กฤษณาได้เริ่มต้นการทำงานในประเทศคองโกเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ "Afrivir" โดยมีส่วนผสมเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกากว่าอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเอริเทรีย แทนซาเนีย เบนิน และไลบีเรีย

งานเขียน
           เภสัชกรยิปซี (2550) สำนักพิมพ์ลิปส์พับลิชชิง, กรุงเทพมหานคร.
           เภสัชกรยิปซี 2 : ประเทศแทนซาเนีย (2552) สำนักพิมพ์ลิปส์พับลิชชิง, กรุงเทพมหานคร.
           เภสัชกรยิปซี 3 : มนตราซาเฮล (2552)affarica ตะวันตก 4 ประเทศ อันได้แก่ เซเนกัล แกมเบีย บูร์กินาฟาโซ และมาลี, เชียงใหม่.
           เภสัชกรยิปซี 4 : shining black star (2553) ประเทศเคนย่า, สำนักพิมพ์ postbook, กรุงเทพมหานคร.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

รางวัล


ปีได้รับรางวัล

รางวัล

พ.ศ. 2553

"รางวัลสตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล เนื่องในวันสตีสากลประจำปี 2553" สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย

พ.ศ. 2553

"รางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี 2010 สาขาวิทยาศาสตร์" มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย

พ.ศ. 2552

"รางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ" มูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์

พ.ศ. 2552

"เภสัชกรเกียรติยศ" สมาคมเภสัชกรโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2552

"รางวัลพลเมืองดีเด่น" สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

พ.ศ. 2551

"รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม" โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2551

"ชาวเอเชียแห่งปี 2008" นิตยสารรีเดอร์สไดเจสต์

พ.ศ. 2550

"Speaker for the Chancellor’s Distinguished Lectureship Series" (Louisiana State University’s premier lecture series), มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาสเตจ สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2548

"Reminders Day AIDS Award" (ReD Awards), เบอร์ลิน เยอรมนี

พ.ศ. 2547

"นักวิทยาศาสตร์โลก" The Letten Foundation, for outstanding scientific contribution in the field of HIV/AIDS, นอร์เวย์

พ.ศ. 2544

"เหรียญทองยูเรก้า" นิทรรศการนวัตกรรมโลกครั้งที่ 50, สถาบันวิจัยเทคโนโลยีใหม่ กรุงบรัสเซล เบลเยียม